เยื่อไผ่ในแกงจืดทำมาจากอะไร และมีประโยชน์ต่อร่างกายไหม
เยื่อไผ่ มิได้มาจากต้นไผ่ เข้าใจถูกต้องแล้ว เพราะเยื่อไผ่นั้นหรือก็คือเห็ดชนิดหนึ่ง มีข้อมูลจากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความกระจ่างว่า เห็ดเยื่อไผ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเห็ดร่างแห ด้วยมีลักษณะคล้ายร่างแห ตาข่าย มีก้านคล้ายฟองน้ำ เป็นอาหารยอดนิยม โดยมักนำมาปรุงเป็นส่วนผสมในแกงจืด เรียกแกงจืดเยื่อไผ่ ลักษณะของเห็ดเยื่อไผ่ เมื่อยังอ่อนมีลักษณะก้อนกลมสีขาวคล้ายฟองไข่นก เมื่อโตขึ้นลำต้นและหมวกเห็ดจะยืดตัวแทรกออกจากเปลือก มักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวๆ และเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะเด่นคือหมวกเห็ดมีรูปร่างเหมือนตา ข่ายหรือแห หรือกระโปรงลูกไม้ของสุภาพสตรี ก้านเห็ดเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ส่วนบนสุดของดอกมักมีสีเข้ม ทำหน้าที่ผลิตสปอร์และกลิ่นที่เหม็นล่อแมลงเพื่อการขยายพันธุ์ เห็ดชนิดนี้มีหลายสี เช่น สีส้ม แดง ขาว เหลือง ชมพู มักขึ้นในป่าที่มีฝนชุกหรือป่าช่วงฤดูฝน
ในธรรมชาติ เห็ดเยื่อไผ่ขยายพันธุ์โดยสปอร์ซึ่งมีแมลงเป็น ตัวช่วย แต่ก็มีการเพาะเลี้ยงทั่วไปเพื่อการค้า เช่น ในประเทศจีนมีการเพาะเลี้ยง 2 ชนิด คือ ชนิดกระโปรงยาวสีขาว และกระโปรงสีแดง โดยเพาะเลี้ยงกันมานานมากกว่า 50 ปีแล้ว มีราคากิโลกรัมละประมาณ 3,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเห็ด บางแห่งเพาะเลี้ยงตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บ ใช้เวลาประมาณ 60 วัน
เห็ดชนิดนี้มีหลายชื่อ เช่น ประเทศไทยเรียกเห็ดร่างแห เห็ดเยื่อไผ่ เยื่อไผ่ ภาคอีสานเรียกเห็ดคางแห เพราะหมวกเห็ดคล้ายแหจับปลา ส่วนต่างประเทศมีหลายชื่อเช่นกัน ทั้ง Bamboo mushroom, Long net stinkhorn, Basket stinkhorn, Veiled lady, King of mushroom, Netted stinkhorn, Dancing mushroom ที่มาของชื่อน่าสนใจเพราะตั้งตามลักษณะเด่น เช่น เห็ดเต้นรำ (Dancing mushroom) ที่มาจากการสังเกตตรงส่วนที่เป็นหมวกเห็ดมีลักษณะคล้ายกระโปรงลูกไม้ดังกล่าว เมื่อโดนลมพัดดูไปคล้ายผู้หญิงเต้นระบำ หรือในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า เห็ดราชา (King of mushroom) ส่วนที่ใช้คำว่า เจ้าแตรเหม็น "stinkhorn"ต่อท้ายชื่อ เพราะตรงส่วนบนสุดของเห็ดเป็นแหล่งผลิตสปอร์และมีกลิ่นเหม็นเพราะต้องการล่อแมลงให้มาดูดกินเพื่อการขยายพันธุ์ ดังที่บอกมาแล้ว
ในประเทศจีนมีเห็ดชนิดนี้ 9 ชนิด รับประทานได้เพียง 4 ชนิด ขณะที่ในประเทศไทย ภาคอีสานพบ 4 ชนิด คือเห็ดกระโปรงยาว สีขาว กระโปรงสั้นสีขาว กระโปรงสีส้ม และกระโปรงสีแดง ที่นิยมนำมารับประทานคือชนิดกระโปรงยาวสีขาวและกระโปรงสั้นสีขาว สำหรับสารอาหาร ประเทศที่จำหน่ายเห็ดระบุว่า เห็ดเยื่อไผ่แห้งจำนวน 100 กรัม ประกอบด้วยโปรตีน 26.3 กรัม ไขมัน 4.2 กรัม คาร์โบ ไฮเดรต 44.9 กรัม กาก 6.4 กรัม กรดอะมิโน 16 ชนิด และวิตามินอีกหลายชนิด
ในประเทศจีนมีเห็ดชนิดนี้ 9 ชนิด รับประทานได้เพียง 4 ชนิด ขณะที่ในประเทศไทย ภาคอีสานพบ 4 ชนิด คือเห็ดกระโปรงยาว สีขาว กระโปรงสั้นสีขาว กระโปรงสีส้ม และกระโปรงสีแดง ที่นิยมนำมารับประทานคือชนิดกระโปรงยาวสีขาวและกระโปรงสั้นสีขาว สำหรับสารอาหาร ประเทศที่จำหน่ายเห็ดระบุว่า เห็ดเยื่อไผ่แห้งจำนวน 100 กรัม ประกอบด้วยโปรตีน 26.3 กรัม ไขมัน 4.2 กรัม คาร์โบ ไฮเดรต 44.9 กรัม กาก 6.4 กรัม กรดอะมิโน 16 ชนิด และวิตามินอีกหลายชนิด
ชาวจีนนำเห็ดชนิดนี้มา ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,000 ปีแล้ว โดยจัดเป็นส่วนผสมในยา รวมถึงปรุงเป็นอาหาร ด้วยความเชื่อว่าสามารถลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต บำรุงร่างกายเมื่ออ่อนแอ บรรเทาโรคที่เกี่ยวกับไต ตา ปอด ตับอักเสบ หวัด ช่วยระบบขับลม ลดความอ้วน แต่จากการศึกษาและมีรายงานระบุว่า นำมาเป็นส่วนผสมน้ำมันนวดแก้โรคเกาต์และรูมาติซึมได้ ส่วนประเทศแถบเอเชียนิยมรับประทานเห็ดที่ตากแห้ง โดยนำมาเติมน้ำร้อนและสามารถดื่มได้ทันที สำหรับประเทศไทยนิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร เช่น ซุปเยื่อไผ่ แกงจืดเยื่อไผ่
อย่างไรก็ตามแม้ว่าเยื่อไผ่จะสามารถนำมาปรุงอาหารอร่อยได้มากมายแต่ก็ไม่ควรรับประทานมากหรือบ่อยเกินไป เพราะมีการตรวจพบสารฟอกขาวในเยื่อไผ่ หากรับประทานบ่อยๆ อาจมีผล
กระทบต่อร่างกายของเรา
อย่างไรก็ตามแม้ว่าเยื่อไผ่จะสามารถนำมาปรุงอาหารอร่อยได้มากมายแต่ก็ไม่ควรรับประทานมากหรือบ่อยเกินไป เพราะมีการตรวจพบสารฟอกขาวในเยื่อไผ่ หากรับประทานบ่อยๆ อาจมีผล
กระทบต่อร่างกายของเรา